วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

การนำเสนอนำเสนอข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS

 2.2.5   การนำเสนอนำเสนอข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS
 การนำเสนอข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS  สามารถทำได้ทั้งในรูปแบบกราฟหรือแผนภูมิแบบต่าง ๆ ซึ่งโปรแกรม SPSS จัดเตรียมไว้ให้มากมาย  เช่น การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง แผนภูมิวงกลม เป็นต้น
2.2.5.1   คำสั่ง  Bar  Charts
ข้อมูลที่สามารถนำเสนอในรูปของแผนภูมิแท่งเป็นได้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพซึ่งในการใช้คำสั่ง Bar Charts สามารถทำได้  2  วิธี  คือ
วิธีที่  1  ใช้คำสั่ง Frequencies  มีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. เลือกเมนู Analyze  → Descriptive  Statics  →  Frequencies
2. เลือกตัวแปรที่ต้องการสร้างแผนภูมิ
3. คลิกปุ่ม Charts เลือก Bar Charts และคลิกปุ่ม Continue
4. ที่ข้อความ Display frequency tables ให้ลบเครื่องหมายถูกออก และคลิกปุ่ม OK  


รูปที่  2.39 การเรียกใช้คำสั่ง Bar Charts



รูปที่ 2.40 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง Bar Charts


วิธีที่ 2 ใช้คำสั่ง Graphs มีขั้นตอนการทำงานดั้งนี้
1. เลือกเมนู Graphs  → Bar…
2.ที่หน้าต่าง Bar Charts เลือกประเภทของแผนภูมิแท่งและคลิกปุ่ม Define
3. ที่หน้าต่าง Define Simple Bar : ให้นำตัวแปรที่ต้องการสร้างแผนภูมิไว้ที่ Category Axis
4. กำหนดลักษณะของข้อมูลที่จะนำเสนอที่  Bars Represent
5.คลิกปุ่ม OK


รูปที่ 2.41 ใช้คำสั่ง Graphs เลือกเมนู Graphs → Bar…



รูปที่ 2.42 การกำหนด Define Simple Bar ให้นำตัวแปรที่ต้องการสร้างแผนภูมิไว้ที่ Category Axis


รูปที่  2.43 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง Graphs


2.2.5.2  คำสั่ง Pie Charts
ข้อมูลที่สามารถนำเสนอในรูปแบบของแผนภูมิวงกลมส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพซึ่งในการใช้
คำสั่ง Pie Charts สามารถทำได้ 2  วิธี คือ
วิธีที่ 1 ใช้คำสั่ง Frequencies มีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. เลือกเมนู Analyze → Descriptive Statistics → Frequencies
2. เลือกตัวแปรที่ต้องการสร้างแผนภูมิ
3. คลิกปุ่ม Charts เลือก Pie Charts และคลิกปุ่ม Continue
4. ที่ข้อความ Display frequency tables ให้ลบเครื่องหมายถูกออก            และคลิกปุ่ม OK


รูปที่ 2.44 การเรียกใช้คำสั่ง Pie Charts



รูปที่ 2.45 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง Pie Charts


วิธีที่ 2 ใช้คำสั่ง Graphs มีขั้นตอนกาทำงานดั้งนี้
1. เลือกเมนู  Graphs  → Pie…
2. ที่หน้าต่าง Pie Charts  เลือกประเภทของแผนภูมิแท่ง และคลิกปุ่ม Define
3. ที่หน้าต่าง Define Pie: ให้นำตัวแปรที่ต้องการสร้างแผนภูมิไว้ที่ Define Slice by
4. กำหนดลักษณะของข้อมูลที่จะนำเสนอที่ Slice Represent
5. คลิกที่ปุ่ม OK


รูปที่  2.46  การเรียกใช้คำสั่ง Pie Charts เลือกเมนู Graphs → Pie…



รูปที่  2.47  ที่หน้าต่าง  Define Pie  ให้นำตัวแปรที่ต้องการสร้างแผนภูมิไว้ที่ Define Slice by



รูป 2.48 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง Pie Charts


2.2.5.3   คำสั่ง Line Charts 
ข้อมูลที่สามารถนำเสนอในรูปของกราฟเส้นเป็นได้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลคุณภาพและแผนภูมินี้เหมาะกับข้อมูลที่มีจำนวนกลุ่มมากกว่า  2 กลุ่ม ส่วนใหญ่นิยมสร้างแผนภูมินี้เพื่อดูแนวโน้มของข้อมูล ซึ่งในการใช้คำสั่ง Line Charts สามารถทำได้ดังนี้
1. เลือกเมนู  Graphs → Line
2. ที่หน้าต่าง Line Charts  เลือกประเภทของแผนภูมิแท่งและคลิกปุ่ม Define
3. ที่หน้าต่าง Define Simple Line: ให้นำตัวแปรที่ต้องการสร้างแผนภูมิไว้ที่ Category Axis
4. กำหนดลักษณะของข้อมูลที่จะนำเสนอที่ Line Represent 
5. คลิกที่ปุ่ม OK


รูปที่ 2.49  การเรียกใช้คำสั่ง  Line Charts



รูปที่ 2.50 ที่หน้าต่าง Define Simple Line ให้นำตัวแปรที่ต้องการสร้างแผนภูมิไว้ที่ Category Axis



รูปที่ 2.51  ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง Line Charts


2.2.5.4   คำสั่ง   Histogram 
ข้อมูลที่สามารถนำเสนอในรูปของแผนภูมิฮีสโตแกรมเป็นข้อมูลเชิงปริมาณและเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปความถี่หรือจำนวนนับซึ่งในการใช้คำสั่ง Histogram สามารถทำได้ดังนี้
วิธีที่ 1 เลือกเมนู Frequencies  มีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. เลือกเมนู Analyze → Descriptive Statistics → Frequencies
2. เลือกตัวแปรที่ต้องการสร้างแผนภูมิ
3. คลิกปุ่ม Chart เลือก Histogram
4. ถ้าต้องการแสดงเส้นโค้งปกติให้คลิกที่หน้า With normal curve ให้มีเครื่องหมายถูกและคลิกปุ่ม Continue
5. ที่ข้อความ Display Frequency tables ให้ลบเครื่องหมายถูกออกและ คลิกปุ่ม OK


รูปที่ 2.52 การเรียกใช้คำสั่ง Histogram


รูปที่ 2.53 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง Histogram


วิธีที่ 2 ใช้คำสั่ง Graphs มีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. เลือกเมนูคำสั่ง Graphs → Histogram
2. ที่หน้าต่าง Histogram เลือกตัวแปรที่จะนำมาสร้างแผนภูมิไว้ที่ Variable
3. ถ้าต้องการแสดงเส้นโค้งปกติ ให้คลิกที่หน้า Display normal curve ให้มีเครื่องหมายถูก
4. คลิกที่ปุ่ม  OK


รูปที่ 2.54 การใช้คำสั่ง Graphs เลือกเมนู Graphs → Histogram…



รูปที่ 2.55 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง Graphs เลือกเมนู Graphs → Histogram


2.2.5.5   การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบรายงาน
การนำเสนอข้อมูลในแบบรายงานด้วยโปรแกรม  SPSS มีขั้นตอนดังนี้
2.2.5.5.1   เลือกเมนู   Analyze → Reports
2.2.5.2    เลือกลักษณะรายงานที่ต้องการ


รูปที่ 2.56 การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบรายงานเลือกเมนู Analyze → Reports และเลือกลักษณะ       รายงานที่ต้องการ


OLAP Cubes (Online Analytical Processing)  เป็นคำสั่งในการหาผลรวม คำเฉลี่ยและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสรุปค่าของตัวแปรที่สนใจซึ่งนิยมใช้กับข้อมูลเชิงปริมาณที่จำแนกข้อมูลตามกลุ่มที่สนใจมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. เปิดไฟล์ข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์
2. เลือกคำสั่ง Analyze  →  Reports → OLAP Cubes…
3. เลือกตัวแปรที่ต้องการหาค่าสรุปต่าง ๆ ไว้ที่ช่อง Summary Variable (S) และเลือกตัวแปรสำหรับแบ่งกลุ่มไว้ที่ช่อง Grouping Variable (S)
4. กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ
•  ปุ่ม Statistics สำหรับเลือกค่าสถิติเชิงพรรณนาที่ต้อองการแสดงค่า
•  ปุ่ม Differences สำหรับแสดงค่าสถิติที่แยกตามกลุ่มหรือตามตัวแปร
•  ปุ่ม Title สำหรับกำหนดหัวเรื่อง
5. คลิกปุ่ม OK
Case Summaries เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างรายงานสรุปสิ่งที่ต้องการศึกษาหรือตัวแปรที่สนใจ โดยจะต้องเป็นตัวแปรเชิงปริมาณและกำหนดการจำแนกตามกลุ่ม ซึ่งต้องกำหนดด้วยตัวแปรเชิงคุณภาพมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. เลือกคำสั่ง Analyze → Reports → Case Summaries in columns…
2. นำตัวแปรที่สนใจจะสร้างรายงานสรุปไปไว้ที่ Variables
3. นำตัวแปรที่ต้องการจำแนกไปไว้ที่ Grouping Variable (S)
4. ที่ Display cases กำหนดจำนวน cases ที่ต้องการแสดง
5. กำหนดรายละเอียดอื่น ๆ
•  ที่ปุ่ม Statistics กำหนดการแสดงค่าสถิติต่าง ๆ
•  ที่ปุ่ม Options กำหนดหัวเรื่องรายงาน
6. คลิกปุ่ม OK
Case Summaries in Rows  เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างรายงานสรุปในรูปของการสรุปในแนวแถวมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. เลือกคำสั่ง Analyze → Reports → Case Summaries in Rows…
2. ที่ Data Columns 
•   นำตัวแปรที่สนใจจะสร้างรายงานสรุปไว้ในช่องสี่เหลี่ยม
•  ปุ่ม Format กำหนดชื่อหัวคอลัมน์และการจัดวาง
3. ที่ Break Columns
•   นำตัวแปรที่ต้องการจำแนกไว้ในช่องสี่เหลี่ยม
•   ปุ่ม   Summary   กำหนดการแสดงค่าสถิติต่าง ๆ
•   ปุ่ม   Options   กำหนดรูปแสดงข้อมูล
•   ปุ่ม   Format  กำหนดชื่อหัวคอลัมน์และการจัดการ

•   ปุ่ม   Sort Sequence กำหนดการเรียงลำดับ  Ascending เรียงจากน้อยไปหามาก
    Descending   เรียงจากมากไปหาน้อย
•   ปุ่ม   Data  are already sorted กำหนดว่าตัวแปรมีการจัดเรียงแล้ว
4. ที่  Report
•  ปุ่ม  Summary  กำหนดการแสดงค่าสถิติต่าง ๆ
•  ปุ่ม  Options   กำหนดเกี่ยวกับค่าสูญหาย
•  ปุ่ม Layout  กำหนดหน้ากระดาษ เช่น Page Layout
•  ปุ่ม  Titles  กำหนดชื่อหัวรายงาน
5. ที่ปุ่ม Display cases  กำหนดการแสดงค่าตัวแปร
6. คลิกที่ปุ่ม   OK
Case  Summaries  in Columns เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างรายงานสรุปในรูปของการสรุปในแนวคอลัมน์  มีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. เลือกคำสั่ง Analyze → Reports – Case summaries in Columns…
2. ที่  Data  Columns
•  นำตัวแปรที่สนใจจะสร้างรายงานสรุปไว้ในช่องสี่เหลี่ยม
•   ปุ่ม  Summary  กำหนดค่าสถิติ
•   ปุ่ม  Insert Total  แทรกการหาค่าผลรวม
•   ปุ่ม  Format  กำหนดชื่อหัวคอลัมน์และการจัดวาง
3. ที่ Break Columns
•   นำตัวแปรที่ต้องการจำแนกไว้ในช่องสี่เหลี่ยม
•   ปุ่ม Options  กำหนดการคำนวณค่าผลรวมของตัวแปรที่เลือก
•  ปุ่ม  Format  กำหนดชื่อหัวคอลัมน์และการจัดการ
•   ปุ่ม   Sort Sequence กำหนดการเรียงลำดับ  Ascending เรียงจากน้อยไปหามาก
    Descending   เรียงจากมากไปหาน้อย
•   ปุ่ม   Data  are already sorted กำหนดว่าตัวแปรมีการจัดเรียงแล้ว
4. ที่    Report
•  ปุ่ม   Options   กำหนดเกี่ยวกับค่าสูญหาย
•  ปุ่ม Layout  กำหนดหน้ากระดาษ เช่น Page Layout
•  ปุ่ม  Titles  กำหนดชื่อหัวรายงาน
5. ที่ปุ่ม Display  cases  กำหนดการแสดงค่าตัวแปร
6. คลิกที่ปุ่ม   OK
2.2.5.6   การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง
การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง ทำได้โดยใช้คำสั่ง Custom Tables มีขั้นตอนการ
ทำงานดังนี้
1. เลือกคำสั่ง Analyze  → Tables  → Custom Tables...


รูปที่  2.57  การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตางราง


2. จะได้หน้าจอเพื่อสร้างตาราง ซึ่งประกอบด้วยคำสั่งต่าง ๆ  4  ส่วน คือ
- Table   เป็นส่วนของการออกแบบตาราง โดยการกำหนดตัวแปรที่จะปรากฏใน แถวและคอลัมน์
- Titles  เป็นส่วนกำหนดข้อความให้ปรากฏในตาราง
- Test  Statistics  เป็นส่วนกำหนดสถิติทดสอบ
- Options  เป็นส่วนกำหนดรูปแบบการนำเสนอ


รูปที่ 2.58 Table เป็นส่วนของการออกแบบตาราง โดยกำหนดตัวแปรที่จะปรากฏในแถวและ

คอลัมน์

รูปที่ 2.59 Titles เป็นส่วนกำหนดข้อความให้ปรากฏในตาราง



รูปที่ 2.60 Test Statistics เป็นส่วนกำหนดสถิติทดสอบ



รูปที่ 2.61 Options เป็นส่วนกำหนดรูปแบบการนำเสนอ


การคำนวณค่าสถิติเบื้องต้นด้วยโปรแกรม SPSS

2.2.4 การคำนวณค่าสถิติเบื้องต้นด้วยโปรแกรม SPSS
คำสั่งในโปรแกรม SPSS ที่กี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ทางสถิติทางพรรณนามีอยู่หลายคำสั่งเช่น คำสั่ง Frequencies คำสั่ง Descriptive คำสั่ง Explore คำสั่ง Crosstabs เป็นต้น
2.2.4.1 คำสั่ง Frequencies
คำสั่ง Frequencies เป็นคำสั่งที่ให้ค่าจำนวนและร้อยละของข้อมูลหนึ่งกลุ่มหรือเป็นคำสั่งที่ใช้สร้างตารางแจกแจงความถี่ทางเดียวของตัวแปรที่สนใจโดยคำสั่งนี้ใช้ได้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพซึ่งขั้นตอนการเรียกใช้คำสั่ง Frequencies สามารถทำได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 เลือกเมนูและคำสั่งตามลำดับดังนี้


รูปที่ 2.20 การเรียกใช้คำสั่ง Frequencies

จะปรากฏวินโดวส์ของ Frequencies


รูปที่ 2.21 คำสั่งFrequencies

ขั้นที่ 2 เลือกตัวแปรที่ต้องการศึกษาไปไว้ในบ็อกซ์ของ Variable (S) ในที่นี้เลือกตัวแปร SEX


รูปที่ 2.22 เลือกตัวแปรที่ต้องการศึกษาไว้ในบ็อกซ์ของ Varible(s)

ขั้นที่ 3 กำหนดการแสดงผลลัพธ์โดยคลิกปุ่ม Statistics สำหรับแสดงค่าสถิติ


รูปที่ 2.23 กำหนดการแสดงผลลัพธ์โดยคลิกปุ่ม Statistics จะปรากฏค่าสถิติดังนี้

Percentile Values กลุ่มของค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ประกอบด้วยค่าควอร์ไทล์และค่า
เปอร์เซ็นต์ไทล์
Dispersion การหารค่าการกระจายของข้อมูลประกอบด้วยส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานความแปรปรวน ค่าพิสัย ค่าต่ำสุดค่าสูงค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน
Central Tendency การวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลางประกอบด้วย ค่ามัชณิมา เลขคณิต
ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ค่าผลรวม
Distribution การแจกแจงข้อมูล

เลือกค่าสถิติที่ต้องการแล้วคลิก Continue


รูปที่ 2.24 เมื่อเลือกค่าที่ต้องการแล้วคลิก Continue

ขั้นที่ 4 คลิกที่ปุ่ม OK จะปรากฏผลลัพธ์ในวินโดวส์ Output



รูปที่ 2.25 ผลลัพธ์ Frequencies ในวินโดวส์ Output

2.2.4.2  คำสั่ง  Crosstabs
คำสั่ง  Crosstabs  เป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการสร้างตารางแจกแจงแบบหลายทางและสามารถแสดงค่าความถี่ ร้อยละ การคำนวณค่าสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานได้อีกด้วย คำสั่ง Crosstab  นี้เหมาะสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการจำแนกข้อมูลตามลักษณะของข้อมูลตั้งแต่ 2 ลักษณะ มา แจกแจงพร้อม ๆ กันเรียกว่า “การแจกแจงความถี่ร่วม” (Crosstabs)  สามารถทำได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 ตารางแจกแจงความถี่ จำแนกตามเพศ และระดับการศึกษา
ขั้นที่ 1 เลือกเมนู และคำสั่งตามลำดับ ดังนี้


รูปที่  2.26  การเรียกใช้คำสั่ง  Crosstabs

จะปรากฏวินโดวส์ของ  Crosstabs   ดังนี้


รูปที่ 2.2.7  คำสั่ง Crosstabs

ขั้นที่  2  เลือกตัวแปรเชิงคุณภาพ ตัวที่ 1 (เพศ) ไปไว้ในบ็อกซ์ของ  Row (S)
 เลือกตัวแปรเชิงคุณภาพ ตัวที่ 2 (สถานภาพ) ไปไว้ในบ็อกซ์ของ   Column (S)


รูปที่ 2.28 เลือกแปรเชิงคุณภาพไปไว้ในบ็อกซ์ของ Row (S) และ Column (S)

ขั้นที่  3  ถ้าต้องการหาค่าร้อยละแบบต่าง ๆ ให้คลิกที่ปุ่ม Cells จะปรากฏวินโดวส์ของ Crosstabs: Cell Display  ให้เลือกค่าที่ต้องการเพิ่มเติม
ขั้นที่  4  สมมติว่าต้องการร้อยละทุกค่า ให้เลือกบ็อกซ์ของ Row, Column, Total ในส่วนของ Percentages และคลิกปุ่ม Continue


รูปที่  2.29  ต้องการหาค่าร้อยละทุกค่า ให้เลือกบ็อกซ์ของ Row, Column, Total ในส่วนของ
Percentages และคลิกที่ปุ่ม Continue

ขั้นที่ 5 คลิกที่ปุ่ม OK จะปรากฏผลลัพธ์ในวินโดวส์ Output


รูปที่ 2.30  ผลลัพธ์  Crosstabs  ในวินโดวส์ Output

2.2.4.3  คำสั่ง Descriptive
คำสั่ง  Descriptive  เป็นคำสั่งที่ในการหาค่าสถิติเบื้องต้น ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นตารางค่าสถิติต่าง ๆ คำสั่งนี้ใช้ได้ข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น การหาค่ามัชฌิมาเลขคณิต การหาค่าผลรวมการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าต่ำสุด การหาค่าสูงสุด ซึ่งขั้นตอนการเรียกใช้คำสั่ง Crosstabs  สามารถทำได้ดังนี้
ขั้นที่  1  เลือกเมนู และคำสั่งตามลำดับ ดังนี้


รูปที่ 2.31   การเรียกใช้คำสั่ง  Descriptive

จะปรากฏวินโดวส์ของ Descriptive ดังนี้


รูปที่ 2.32  คำสั่ง  Descriptive

ขั้นที่ 2   เลือกตัวแปรที่ต้องการศึกษาไปไว้ในบ็อกซ์ของ Variable (S) ในที่นี้เลือกตัว      แปร INCOM


รูปที่ 2.33  เลือกตัวแปรทีต้องการศึกษาไปไว้ในบ็อกซ์ของ Variable (S)
       
  ขั้นที่  3  คลิกที่ปุ่ม OK จะปรากฏผลลัพธ์ในวินโดวส์ Output


รูปที่  2.34  ผลลัพธ์ Descriptive  ในวินโดวส์ Output

 2.2.4.4  คำสั่ง Explore
                    คำสั่ง Explore  เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างสรุปค่าสถิติเบื้องต้น แยกตัวแปรที่สนใจโดยมากใช้กับข้อมูลเชิงปริมาณที่ต้องการจำแนกตามข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่น สรุปค่าสถิติแยกตามเพศซึ่งขั้นตอนการเรียกใช้คำสั่ง Explore สามารถทำได้ดังนี้
                   ขั้นที่  1  เลือกเมนู และคำสั่งตามลำดับ ดังนี้


รูปที่ 2.35  การเรียกใช้คำสั่ง  Explore

จะปรากฏวินโดวส์ของ  Descriptive  ดังนี้



รูปที่ 2.36  คำสั่ง Explore

ขั้นที่  2 เลือกตัวแปรที่ต้องการศึกษา โดยที่
          เลือกตัวแปรเชิงปริมาณที่ต้องการหาค่าสถิติไว้ที่ช่อง  Dependent List
          เลือกตัวแปรเชิงคุณภาพที่ต้องการแบ่งกลุ่มไว้ที่ช่อง Factor List


รูปที่  2.37  เลือกตัวแปรที่ต้องการศึกษาไว้ที่ช่อง  Dependent List และช่อง Factor List

   
ขั้นที่  3  คลิกที่ปุ่ม  OK  จะปรากฏผลลัพธ์ในวินโดวส์ Output



รูปที่  2.38  ผลลัพธ์  Explore  ในวินโดวส์  Output


วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

การสร้างไฟล์ข้อมูลจากแบบสอบถาม

2.2.3 การสร้างไฟล์ข้อมูลจากแบบสอบถาม
ไฟล์ข้อมูลที่ใช้ในโปรแกรม SPSS สามารถสร้างได้หลายรูปแบบ โดยสามารถสร้างไฟล์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เองหรือสร้างไฟล์ข้อมูลด้วยโปรแกรมอื่นๆ และสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS ได้ ซึ่งโปรแกรม SPSS สามารถอ่างไฟล์ข้อมูลที่สร้างด้วยโปรแกรมอื่นๆ ได้โดยใช้คำสั่ง File -->Open database--> New Query
2.2.3.1 การสร้างไฟล์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS
เมื่อเปิดโปรแกรม SPSS ขึ้นมาครังแรก จะได้หน้าจอ Untitled – SPSS Data Editor ประกอบด้วย 2 Tab ที่อยู่ซ้ายมือด้านล่าง คือ Data View และ Variable View



รูปที่ 2.9 การสร้างไฟล์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS จะได้หน้าจอ Untiled – SPSS Data Editor 

ประกอบด้วย 2 Tab ที่อยู่ซ้ายมือด้านล่าง คือ Data View และ Variable View
2.2.3.2 ขั้นตอนการสร้างไฟล์ข้อมูล
การสร้างไฟล์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างไฟล์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 2 การป้อนข้อมูล
   ขั้นตอนที่ 1 การสร้างไฟล์ข้อมูล
ผู้ใช้ต้องแปลงคำตอบจากแบบสอบถามเป็นตัวแปร โดยที่คำถาม 1 คำถามในแบบสอบถามสร้างเป็นตัวแปรได้อย่างน้อย 1 ตัวแปร โดยใช้หน้าจอ Data Editor แล้วคลิกเลือก Variable View Tab ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. บรรทัด หมายถึงตัวแปร 1 ตัวแปร ดังนั้นถ้าแบบสอบถามสามารถสร้างตัวแปรได้ทั้งหมด 
15 ตัวแปร หน้าจอ Variable View จะต้องมี 15 บรรทัด
2. สำหรับตัวแปรแต่ละตัว หรือใน 1 บรรทัด ผู้ใช้ต้องกำหนดสิ่งต่อไปนี้
Name หมายถึง  ชื่อตัวแปร
Type หมายถึง  ชนิดตัวแปร
Width and Decimal     หมายถึง  ความกว้างและจำนวนจุทศนิยมของตัวแปร
Label หมายถึง  ความหมายของตัวแปร
Values หมายถึง  ค่าของตัวแปรกรณีที่แปลงจากข้อมูลเชิงกลุ่ม
เป็นตัวเลข
Missing หมายถึง  รหัสสำหรับค่าสูญหาย หรือกรณีที่ผู้ตอบไม่
                               ตอบคำถามนั้น
Column หมายถึง   การกำหนดความกว้างของ Column หน้าจอ 
                               โดยจัดให้ชิดซ้าย ขวา หรืออยู่กลาง Column
Ailing หมายถึง   การกำหนดตำแหน่งของชนิดของสเกลของ
ข้อมูล  ซึ่งในโปรแกรม SPSS แบ่งออกเป็น 3 สเกล คือ      Nominal, Ordinal และ Scale (Interval และ Ratio)


รูปที่ 2.10 การสร้างไฟล์ข้อมูล โดยหน้าจอ Variable View


3. การตั้งชื่อตัวแปร (Name) ใน Column name ผู้ใช้ต้องกำหนดชื่อตัวแปรและควรตั้งชื่อตัวแปรให้สอดคล้องกับความหมายของค่าตัวแปรนั้น เช่น อายุ ควรตั้งชื่อตัวแปรเป็นAge
4. กฎการตั้งชื่อตัวแปรของโปรแกรม SPSS
ความยาวของชื่อตัวแปรต้องไม่เกิน 64 ตัว
ชื่อตัวแปรต้องเริ่มต้นด้วยอักษรเท่านั้น ส่วนตัวอื่น ๆ อาจเป็นตัวอักษา ตัวเลข จุด หรือสัญลักณ์พิเศษ เช่น @ ,#,_ (ขีดล่าง) หรือ 5 ก็ได้
ชื่อตัวแปรต้องไม่จบด้วยจุด
ห้ามใช้สัญลักษณ์ต่อไปนี้ คือ !?’*
ชื่อตัวแปรในไฟลืเดียวกันต้องไม่ซ้ำกัน
ตัวอักษรใหญ่หรือเล็ก ถือว่าเป็นตัวเดียวกัน
ห้ามตั้งชื่อ ต่อไปนี้ All  NE  TO  LE  LT  BY  OR  GT  AND  NOT  GE  WITH
ชนิดของตัวแปรเมื่อคลิกที่ Column Type จะปรากฏชนิดของตัวแปรให้เลือก
5. ชนิดของตัวแปรเมื่อคลิกที่ Column Type จะปรากฏชนิดของตัวแปรให้เลือก



รูปที่ 2.11 การกำหนด Column Type


Numeric เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข รวมทั้งเครื่องหมายบวกหรือลบที่อยู่หน้าตัวเลข และรวมถึงจุดทศนิยม ถ้าเลือก Numeric จะต้องกำหนดความกว้าง (Width) และจำนวนหลักของตัวเลขหลักทศนิยม (Decimal Place)
Comma ตัวแปรชนิด Comma รวมถึงตัวเลข เครื่องหมาย Comma คั่นหลักพัน
Dot ตัวแปรชนิด Dot รวมถึงตัวเลข เครื่องหมายบวกหรือลบที่อยู่หน้าตัวเลขและมีเครื่องหมาย Comma จำนวน 1 ตัว สำหรับแสดงจุดทศนิยม และใช้เครื่องหมายจุดสำหรับคั่นเลขหลักพัน กรณีที่ป้อนข้อมูลโดยไม่ใส่จุด เครื่องจะใส่ให้โดยอัตโนมัติ
Scientific Notation เป็นตัวแปรที่มีค่าเป็นตัวเลขและสัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ เช่น E,D รวมถึงเครื่องหมายบวก และเครืองหมายลบเช่น 123ม 123E5 123E-6 123E+2
Dallarเป็นตัวแปรชนิดตัวเลขและหมายถึงจำนวนเงินที่วมถึงเครื่องหมาย $ ให้อัตโนมัติ
Custom ส่วนของ Custom Currency แบ่งออกเป็น 5 รูปแบบคือ CCA CCB CCC CCD CCE
Strong เป็นตัวแปรที่มีค่าเป็นตัวตัวอักษร หรือเครื่องหมายต่างๆ กรณีที่เลือกประเภทString จะต้องกำหนดความกว้างด้วย
6. Width (การกำหนดขนาดของตัวแปร) เป็นการก-หนดความกว้างหรือจำนวนหลักค่าในตัวแปร เมื่อคลิดที่ Cell ใน Column ของ Type เป็น String จะไม่สามาถำกำหนดความกว้างของตัวแปร
7. Decimals เป็นการกำหนดจำนวนหลักหลังจุดทศนิยมของค่าในตัวแปร เมื่อคลิดที่ CellในColumn ของDecimals จะสามารถเปลี่ยนจำนวนหลักหลักงจุดทศนิยมแต่กำหนดประเภทของตัวแปรใน Column ของ Type เป็น String จะไม่สามารถกำหนดค่า Decimals ได้
8. การกำหนด Label (ความหมายของตัวแปร) Label เป็น Column ที่ใช้ระบุความหมายของตัวแปรเนื่องจากชื่อตัวแปรบางครั้งอาจใช้ชื่อย่อ จึงควรระบุความหมายที่แท้จริงของตัวแปรไว้ และนำไปใช้แสดงในผลลัพธ์
9. การกำหนด Value เป็นส่วนที่ใช้ระบุค่าและความหมายของตัวแปรในกรณีที่ ตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น Nominal หรือ Ordinal


รูปที่ 2.12 การกำหนด Value

10. การกำหนดค่าสูญหาย (Missing Value) เนื่องจากในการเก็บรวบรวมข้อมูลจะมีข้อมูลบางส่วนสูญหายไปหรือผู้ที่ป้อนข้อมูลทำการป้อนข้อมูลไม่ครบ เมื่อคลิกที่ Cell ใน Column ของ Missing จะได้หน้าจอดังนี้
No missing กรณีที่ไม่มีการพิมพ์ข้อมูล ในโปรแกรม SPSS จะให้
Values เป็นจุด (.) ซึ่งหมายถึง System – missing value
Discrete missing values ผู้ใช้เป็นผู้กำหนดรหัสของ missing gv’
Range plus one กรณีที่มีการกำหนดให้ผู้ตอบคำถามไม่ต้องตอบ
Optimal discrete คำถามบางข้อ ให้กำหนดรหัสของคำถามที่ไม่
Missing value ตอบนั้นไว้อีกรหัสหนึ่ง


รูปที่ 2.13การกำหนดค่าสูญหาย (Missing Value) โดยกำหนด No missing values


1.1 การกำหนดความกว้างของ Column โปรแกรม SPSS จะกำหนดความกว้างของ Column เป็น 8 ซึ่งผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแปลงความกว้างของ Column น้อยกว่าของตัวแปร บนหน้าจอจะแสดงบนหน้าจอเท่านั้น กรณีที่กำหนดความกว้างของ Clung น้อยกว่าความกว้างของตัวแปร บนหน้าจอจะแสดงค่าของข้อมูลไม่ครบ แต่ไม่มีผลกระทบต่อข้อมูลที่เก็บอยู่ในเครื่อง
1.2 การกำหนดตำแหน่งของข้อมูล (Align) เป็นการกำหนดตำแหน่งการวางข้อมูลใน Cell ซึ่งจะมีผลเฉพาะบนหน้าจอเท่านั้น โดยคลิกที่ Align จะปรากฏทางบเลือก 3 ทาง คือ
Left ให้ข้อมูลชิดซ้ายของ Cell
Right ให้ข้อมูลชิดขวาของ Cell
Center ให้ข้อมูลอยู่ตรงกลางของ Cell


รูปที่ 2.14 การกำหนดตำแหน่งของข้อมูล (Align)

13. การกำหนดสเกลของข้อมูล (Measure) ทำได้โดยคลิกที่ Measure จะปรกฏทางเลือก 3 ทางคือ
Scale หมายถึงข้อมูล Interval หรือ Ratio
Ordinal หมายถึงข้อมูล Ordinal
Nominal หมายถึงข้อมูล Nominal



รูปที่ 2.15 การกำหนดสเกลของข้อมูล (Measure)

ขั้นตอนที่ 2 การป้อนข้อมูลให้กับตัวแปร
เมือสร้างตัวแปรทุกตัวใน Variable View แล้วทำการป้อนข้อมูลจากแบบสอบถามได้โดยการคลิกที่ Data View Tab จะพบว่าชื่อตัวแปรอยู่ในแต่ละ Column ซึ่งหน้าจอของ Data View ประกอบด้วย
1. Row หรือบรรทัด โดยที่ 1 บรรทัด หมายถึงแบบสอบถาม 1 ชุด ที่ได้จากการสอบถาม ตัวอย่าง1 ตัวอย่าง ถ้ามีแบบสอบถาม 100 ชุด หน้าจอนี้จะต้องมี 100 บรรทัด
2. คอลัมน์ (Column) หมายถึงตัวแปร โดยที่ 1 คอลัมน์ คือ 1 ตัวแปร ซึ่งจะมีชื่อตัวแปรอยู่เพียงค่าเดียวเท่านั้น
3. เซล (Cell) เป็นส่วนที่ตัดกันของ Row และ Column แต่ละ Cell จะมีค่าของตัวแปรเพียงค่าเดียวเท่านั้น
4. ไฟล์ข้อมูล หมายถึงขนาดของข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ ทั้งหมด เช่นถ้ามีจำนวนแบบสอบถาม 100 ชุดและมีตัวแปร 10 ตัวแปรดังนั้นขนาดของไฟล์ข้อมูลคือ 100x10
การกำหนดชื่อและลักษณะของตัวแปร
1. จากหน้าจอ Data Editor ให้คลิกเลือก Variable View เพื่อทำการกำหนดชื่อตัวแปรและลักษณะของตัวแปร
ตัวแปรที่ 1 
พิมพ์ชื่อตัวแปร เพศ ใน Cell  ของ Column name
ที่ Type,Width,Decimalsกำหนดเป็น Numeric,Width = 8, Decimal = 2
ที่ Lableพิมพ์คำว่า เพศ
ที่ Value ให้ใส่ข้อความ “1” = ชาย “2” = หญิง
ที่ Missing ให้ใส่ Descrete missing Values = None 
ที่ Column กำหนดความกว้าง = 3
ที่ Align เลือก Center
ที่ Measure เลือก Nominal
ตัวแปรที่ 2
พิมพ์ชื่อตัวแปร อายุใน Cell ของ Column name
ที่ Type, Width, Decimalsกำหนดเป็น Numeric, Width= 8, Decimal = 2
ที่ Label พิมพ์คำว่า อายุ
ที่ Value ไม่ต้องใส่คำใดๆ
ที่ Missing ให้ใส่ Discrete missing Values = None
ที่ Column กำหนดความกว้าง = 3
ที่ Align เลือก Center
ที่ Measure เลือก Scale


รูปที่ 2.16 การกำหนดชื่อและลักษณะของตัวแปร
2. ตัวแปรอื่นๆ ให้ทำในลักษณะคล้ายกับตัวแปร เพศ
การป้อนข้อมูลตามตัวแปรที่กำหนดไว้
เมื่อสร้างตัวแปรใน Variable View ให้คลิกที่ Data View Tab เพื่อทำการป้อนข้อมูล



รูปที่ 2.17 การป้อนข้อมูลตามตัวแปรที่กำหนดไว้


การบันทึกไฟล์ข้อมูล ใช้คำสั่ง  File -->Save as


รูปที่ 2.18 การบันทึกไฟล์ข้อมูล



การเปิดไฟล์ข้อมูล ใช้คำสั่ง   File -->Open-->Data


รูปที่ 2.19 การเปิดไฟล์ข้อมูล