โปรแกรม SPSS เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท SPSS Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้คำว่า SPSS มาจากคำว่า Statistical Package for the Social Science โดยเริ่มแรกโปรแกรม SPSS ถูกพัฒนาให้ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe computer) จึงเรียกว่า SPSS และเมื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากโปรแกรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงพัฒนาโปรแกรม SPSS สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ โดยเรียกว่า SPSS/PC และต่อมาปรับปรุงให้โปรแกรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตลอดจนมีเมนูช่วยในการเขียนคำสั่ง โดยเรียกว่าSPSS/PC+ ทั้งนี้ถูกพัฒนาถึงรุ่น (version) 5 ซึ่งทุกรุ่นทำงานบนระบบปฏิบัติการ DOS และนับแตรุ่น 6 เป็นต้นมาได้พัฒนโปรแกรม SPSS ซึ่งทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows จึงเรียกว่า SPSS for Windows โดยล่าสุดคือรุ่น 10 ซึ่งจะได้กล่าวโดยละเอียดต่อไป
2.2.2.1 การใช้โปรแกรม SPSS เบื้องต้น
โปรแกรม SPSS for Windows เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ใช้งานได้โดยง่าย เพราะผู้ใช้เพียงแต่ใช้เมาส์ชี้แล้วคลิก ผู้ใช้สามารถเปิดโปรแกรม SPSS 14.0 for Windows โดยการคลิกปุ่ม Start แล้วเลื่อนเมาส์มาที่ All Program และ spss for window แล้วคลิกที่ ดังรูปที่ 2.1
รูปที่ 2.1 การเรียกใช้งานโปรแกรม SPSS 14.0
จะได้หน้าจอดังนี้
รูปที่ 2.2 โปรแกรม SPSS 14.0
จากนั้นให้คลิกเมาส์ที่ Cancel จะได้หน้าจอดังนี้
รูปที่ 2.3 โปรแกรม SPSS 14.0 ในหน้า Variable View
2.2.2.2 ชนิดของWindowของโปรแกรม SPSS for Windows
โปรแกรม SPSS 14.0 for Windows ประกอบด้วย Window 8 ชนิด โดยบาง Window จะเปิดเองโดยอัตโนมัติ หรือเมื่อมีการใช้คำสั่งทางสถิติ หรือเมื่อคลิกสองครั้งที่ผลลัพธ์ที่ต้องการเพื่อเปิด Window บางชนิด และอาศัย Window ดังกล่าวแก้ไขผลลัพธ์ข้างต้น
2.2.2.2.1 Data Editor
เป็น window ที่ใช้แสดงข้อมูลที่จะนำไปประมวลผล โดยอาจเป็นแฟ้มข้อมูลที่สร้างขึ้นมาใหม่หรือดัดแปลงจากแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่แล้วใน Data Editor ก็ได้ เมื่อเปิดโปรแกรม SPSS for Windowsจะได้ Data Editor โดยอัตโนมัติชื่อ Untitled แต่ละครั้งจะเปิด Data Editor ได้เพียง window เดียวเท่านั้น
2.2.2.2.2 Viewer
เป็น window แสดงผลลัพธ์การวิเคราะห์ในรูปข้อความ (text) ตารางที่เรียกว่า pivot table ตลอดจนกราฟต่าง ๆ ทั้งนี้หากมีการประมวลผลจะได้ Viewer โดยอัตโนมัติในชื่อ Outputแต่ผู้ใช้สามารถแก้ไขผลลัพธ์ดังกล่าวแล้วบันทึกแฟ้มในชื่ออื่นได้ ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเปิด Viewer ได้หลาย window
2.2.2.2.3 Draft Viewer
กรณีไม่ต้องการให้ผลลัพธ์การวิเคราะห์อยู่ในรูป Pivot table แต่ต้องการให้อยู่ในรูปข้อความ (text) ผู้ใช้สามารถกำหนดให้ Draft Viewer แสดงผลลัพธ์ลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเปิด Draft Viewer ได้หลาย window ในเวลาเดียวกัน โดยแต่ละ Draft Viewer จะมีชื่อ Draft1,Draft2….. ตามลำดับแต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนชื่อให้แก่ Window ดังกล่าวได้โดยจะมีส่วนขยายเป็น .rtf
2.2.2.2.4 Pivot Table Editor
ถ้าผลลัพธ์การวิเคราะห์อยู่ในรูป pivot table โดยอาศัย Pivot Table Editor ผู้ใช้สามารถปรับแต่งผลลัพธ์การวิเคราะห์ในลักษณะ แก้ไขข้อความ หมุนข้อมูลระหว่างแถวและสดมภ์ เปลี่ยนสี เพิ่มเติมมิติต่าง ๆ ของตาราง ตลอดจนซ่อนหรือแสดงบางผลลัพธ์การวิเคราะห์ตามต้องการทั้งนี้ผู้ใช้สามารถ เปิด Pivot Table Editor ได้หลาย window ในเวลาเดียวกัน โดยแต่ละ Pivot Table Editor จะได้ชื่อว่า table1,table2…..ตามลำดับ อนึ่ง ผลลัพธ์การวิเคราะห์ที่อยู่ในรูป pivot table ที่ถูกปรับแต่งแล้วจะแสดงใน Viewer ดังเดิม
2.2.2.2.5 Chart Editor
เป็น window ใช้แก้ไข Chart ชนิด high-resolution ซึ่งผู้ใช้สามารถแก้ไขในลักษณะเปลี่ยนสีเปลี่ยนรูปแบบหรือขนาดตักอักษร สลับระว่างแกนตั้งกับแกนนอน หมุน 3-Dscatterplot ตลอดจนเปลี่ยนชนิดของ Chart
2.2.2.2.6 Text Output Editor
ใช้แก้ไขผลลัพธ์การวิเคราะห์ที่เป็นข้อความ (text) ที่ไม่อยู่ในรูป pivot table โดยสามารถแก้ไขข้อความดังกล่าวในลักษณะเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร (Font) ลักษณะตัวอักษร (Style) ขนาดและสี
2.2.2.2.7 Syntax Editor
เป็น window สำหรับสร้างแฟ้มคำสั่งต่างๆ ของ SPSS 14.0 for windows ที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลซึ่งเกิดจากผู้ใช้คลิกที่ปุ่ม Paste ในกรอบคำสั่งของแต่ละคำสั่ง ผู้ใช้สามารถเปิด Syntax Editor ได้มากกว่าหนึ่ง window ในเวลาเดียวกัน โดยแต่ละ Syntax Editor จะมีชื่อ Syntax 1,Syntax2 ตามลำดับ แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนชื่อให้แก่ window ดังกล่าวได้ ซึ่งจะมีส่วนขยายเป็น .sps
2.2.2.2.8 Script Editor
เป็น Window สำหรับสร้างหรือแก้ไข basic script ผู้ใช้สามารถเปิด Script Editor ได้มากกว่าหนึ่ง window ในเวลาเดียวกัน โดยแต่ละ Script Editor จะมีชื่อ Script1,Script2,… ตามลำดับ แต่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนชื่อให้แก่ window ดังกล่าวได้ซึ่งจะมีส่วนขยายเป็น .sbs
2.2.2.3 เมนู (Menus) ของโปรแกรม SPSS
การทำงานของโปรแกรม SPSS เริ่มต้นด้วยการเลือกเมนู โดยแต่ละหน้าจอมี Menu Bar ซึ่งประกอบด้วยคำสั่งเลือกใช้งาน แต่จะมีคำสั่ง 2 คำสั่ง คือ Analyst และ Graphs ที่อยู่ในทุก ๆ หน้าจอเพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับเมนูคำสั่งในแต่ละหน้าจอมีดันี้
● Data Editor Menus
ในหน้าจอของ Data Editor Menus มีคำสั่งต่าง ๆ ดังนี้
File เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้เปิด สร้าง หรือบันทึกไฟล์ข้อมูล อ่านไฟล์ข้อมูลที่สร้างโดยโปรแกรมอื่น ๆ เช่น Microsoft Excel, Microsoft Access
Edit เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้แก้ไข คัดลอก ตัด หรือค้นหาข้อมูล
View เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้ Customize toolbar, Status bar, Font และ Label
Data เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้ในการเปลื่ยนแปลงไฟล์ข้อมูล การรวมไฟล์ การสร้างเซตย่อยของๆฟล์เพื่อการวิเราะห์ข้อมูล การเพิ่มตัวแปร การเพิ่มข้อมูลการเรืยงลำดับข้อมูล การแยกไฟล์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว ไม่มีผลต่อไฟล์ข้อมูลเดิม ยกเว็นมีการสั่งให้บันทึกการเปลี่ยนแปลงนั้น
Transform เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงตัวแปรของไฟล์ข้อมูล คำนวณค่าตัวแปรใหม่โดยใช้ฟังก์ชันของตัวแปรเดิม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนชั่วคราว ไม่มีผลต่อไฟล์ข้อมูลเดิม ยกเว้นมีการสั่งให้บันทึกการเปลี่ยนแปลงนั้น
Analyze เป็นเมนูคำสั่งที่ประกอบด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสิติ เช่น การสร้างรายงาน การหาค่าสถิติเบื้องต้น การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย การหาความสัมพันธ์ของข้อมูล
Graphs เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้ในการสร้างกราฟประเภทต่างๆ
Utilities เป็นเมนูคำสั่งที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวแปรในไฟล์ข้อมูลที่ใช้งานอยู่
Window เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้ในการจัดเลือก และควบคุม window โดยใช้ window menu ในการสลับ SPSS windowหรือ minimize SPSS window ที่เปิดไว้ทุก window
Help เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้เชื่อมต่อกับ SPSS Internet Home Page และอธิบายความหมายของคำสั่งต่าง ๆ ที่มีใช้ในโปรแกรม SPSS
● Output – SPSS Viewer
หน้าจอ Viewer เป็นหน้าจอแสดง Output จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ มีคำสั่งต่าง ๆ ดังนี้
File เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้เปิด บันทึก สร้าง และพิมพ์ไฟล์ข้อมูล
Edit, View การทำงานเหมือนใน Data Editor Menus
Insert เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้เพิ่ม/แทรก page bread, title, title, chart, graph, text file
Format เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้เปลี่ยน alignment ของ output ที่เลือก
Analyze, Graphs, การทำงานเหมือนในData Editor Menus
Utilities, Windows,
Help
● Draft Menus
หน้าจอ Draft Viewer เป็นหน้าจอแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ในรูป Draft ซึ่งการเปิด Draft viewer window ใช้คำสั่ง file →New → Draft output ซึ่งมีคำสั่งต่างๆ ดังนี้
File เป็นเมนูคำสั่งที่ใช้เปิด บันทึ สร้าง และพิมพ์ไฟล์ข้อมูล Syntax output, Draft output
Edit, View, Insert การทำงานเหมือนใน Output – SPSS Viewer
Format, Analyze, การทำงานเหมือนในData Editor Menus
Graphs, Utilities,
Window, Help
● Pivot Table Editor Menus
การเปิด Pivot Table Editor Menus จะต้องคลิก 2 ครั้งที่ตาราง (Pivot Table) ใน Output ทำให้ได้ Pivot Table Editor แทน Output viewer menu ซึ่งมีคำสั่งต่าง ๆ ดังนี้
Pivot ใช้สลับที่ระหว่างผลลัพธ์ใน Rowและ Column ย้าย Layer ในMultidimensional pivot table
Format ใช้แก้ไขตาราง แก้ไขรูปแบบตาราง เปลี่ยนตัวอักษร ความกว้าง ของ Cell
File, Edit, Analyze, การทำงานเหมือนใน Output – SPSS Viewer
Graph, Utilities
● Chart Editor Menus
การเปิด Chart Editor Menus ทำได้โดยการคลิก 2 ครั้งที่ Chart ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากคำสั่ง Graphs ซึ่งมีคำสั่งต่าง ๆ ดังนี้
Pivot ใช้สลับที่ระหว่างผลลัพธ์ใน Row และ Column ย้าย Layer ใน Multidimensional pivot table
Edit ใช้คัดลอก Chart ไปยังโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ และการ เปลี่ยนแปลง Option setting
Gallery ใช้เปลี่ยนชนิดของ Chart
Chart ใช้เปลี่ยนแปลงแก้ไข Layout และ Label ของ Chart
Series ใช้เลือก Data series และ Categories เพื่อนำมาแสดงหรือซ่อน และใช้สลับที่ข้อมูลสำหรับ Bar, Line และ Area chart ผู้ใช้สามารถเลือกแต่ละ Series ที่จะแสดงในกราฟ
Format ใช้เลือกสี แบบของเส้น แบบของ Bar Label ตัวอักษร และขนาดของตัวอักษร
File, Analyze, การทำงานเหมือนใน Output – SPSS Viewer
Graphs, Help
● Text Output Editor Menus
การเปิด Text Output Editor Menus ทำได้โดยการคลิก 2 ครั้งที่ Output ที่อยู่ในรูป Text ซึ่งมีคำสั่งต่าง ๆ ดังนี้
File, Edit, View, การทำงานเหมือนใน Output – SPSS Viewer
Analyze, Graphs,
Utilities
Graphs, Utilities, การทำงานเหมือนใน Output – SPSS Viewer
Window, Help
● Syntax Editor Menus
เป็นหน้าจอที่เก็บคำสั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยเมื่อเลือกวิธีเคราะห์ให้ปุ่ม Paste ซึ่งมีคำสั่งต่าง ๆ ดังนี้
File, Edit, View, การทำงานเหมือนใน Output – SPSS Viewer
Analyze, Graphs,
Utilities
Run เป็นคำสั่งที่ให้ทำงานตามคำสั่งในไฟลื Syntax ทั้งหมด หรือบางส่วนของไฟล์ Syntax
● Script Editor Menus
File, Edit, View การทำงานเหมือนใน Output –SPSS Viewer
Script ใช้สร้าง Subroutines และ Functions ใหม่ เปลี่ยน Font ของ Script
Debug ใช้ Debug Basic Scripts และ Access Object Browser
Analyze, Graphs, การทำงานเหมือนใน Output – SPSS Viewer
Utilities, Window
Help
2.2.2.4 คำสั่งHelp
ทุก ๆ window ของโปรแกรม SPSSจะมีเมนูหรือคำสั่ง Help อยู่บน Menu bar ซึ่งคำสั่ง Help จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจถึงการใช้โปรแกรม SPSSและอธิบายเทคนิคทางสถิติตามที่ผู้ใช้ต้องการโดยใช้คำสั่ง Help --> Topics
2.2.2.5 ชนิดของทางเลือกต่างๆ ของคำสั่งใน SPSS
คำสั่งต่างๆ ในโปรแกรม SPSS หลายคำสั่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสั่ง Analyze ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล จะมีคำสั่งย่อยหลายคำสั่ง โดยแต่ละคำสั่งย่อยมักมีทางเลือก 2 ประเภทดังนี้
2.2.5.1 ประเภทที่ผู้ใช้จำเป็นต้องเลือกซึ่งจะเลืกได้เพียงทางเลือกเดียวจากหลายๆ ทางเลือกที่มีโดยโปรแกรม SPSSจะใช้เครื่องหมายวงกลมที่หน้าทางเลือก
2.2.5.2 ประเภทที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเลือก หมายถึงจะเลือกหรือไม่เลือกก็ได้ และถ้าเลือกจะเลือกกี่ทางเลือกก็ได้ จะใช้เครื่องหมายวงกลมที่หน้าทางเลือก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น