ไฟล์ข้อมูลที่ใช้ในโปรแกรม SPSS สามารถสร้างได้หลายรูปแบบ โดยสามารถสร้างไฟล์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เองหรือสร้างไฟล์ข้อมูลด้วยโปรแกรมอื่นๆ และสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS ได้ ซึ่งโปรแกรม SPSS สามารถอ่างไฟล์ข้อมูลที่สร้างด้วยโปรแกรมอื่นๆ ได้โดยใช้คำสั่ง File -->Open database--> New Query
2.2.3.1 การสร้างไฟล์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS
เมื่อเปิดโปรแกรม SPSS ขึ้นมาครังแรก จะได้หน้าจอ Untitled – SPSS Data Editor ประกอบด้วย 2 Tab ที่อยู่ซ้ายมือด้านล่าง คือ Data View และ Variable View
รูปที่ 2.9 การสร้างไฟล์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS จะได้หน้าจอ Untiled – SPSS Data Editor
ประกอบด้วย 2 Tab ที่อยู่ซ้ายมือด้านล่าง คือ Data View และ Variable View
2.2.3.2 ขั้นตอนการสร้างไฟล์ข้อมูลการสร้างไฟล์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างไฟล์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 2 การป้อนข้อมูล
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างไฟล์ข้อมูล
ผู้ใช้ต้องแปลงคำตอบจากแบบสอบถามเป็นตัวแปร โดยที่คำถาม 1 คำถามในแบบสอบถามสร้างเป็นตัวแปรได้อย่างน้อย 1 ตัวแปร โดยใช้หน้าจอ Data Editor แล้วคลิกเลือก Variable View Tab ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. บรรทัด หมายถึงตัวแปร 1 ตัวแปร ดังนั้นถ้าแบบสอบถามสามารถสร้างตัวแปรได้ทั้งหมด
15 ตัวแปร หน้าจอ Variable View จะต้องมี 15 บรรทัด
2. สำหรับตัวแปรแต่ละตัว หรือใน 1 บรรทัด ผู้ใช้ต้องกำหนดสิ่งต่อไปนี้
Name หมายถึง ชื่อตัวแปร
Type หมายถึง ชนิดตัวแปร
Width and Decimal หมายถึง ความกว้างและจำนวนจุทศนิยมของตัวแปร
Label หมายถึง ความหมายของตัวแปร
Values หมายถึง ค่าของตัวแปรกรณีที่แปลงจากข้อมูลเชิงกลุ่ม
เป็นตัวเลข
Missing หมายถึง รหัสสำหรับค่าสูญหาย หรือกรณีที่ผู้ตอบไม่
ตอบคำถามนั้น
Column หมายถึง การกำหนดความกว้างของ Column หน้าจอ
โดยจัดให้ชิดซ้าย ขวา หรืออยู่กลาง Column
Ailing หมายถึง การกำหนดตำแหน่งของชนิดของสเกลของ
ข้อมูล ซึ่งในโปรแกรม SPSS แบ่งออกเป็น 3 สเกล คือ Nominal, Ordinal และ Scale (Interval และ Ratio)
รูปที่ 2.10 การสร้างไฟล์ข้อมูล โดยหน้าจอ Variable View
3. การตั้งชื่อตัวแปร (Name) ใน Column name ผู้ใช้ต้องกำหนดชื่อตัวแปรและควรตั้งชื่อตัวแปรให้สอดคล้องกับความหมายของค่าตัวแปรนั้น เช่น อายุ ควรตั้งชื่อตัวแปรเป็นAge
4. กฎการตั้งชื่อตัวแปรของโปรแกรม SPSS
ความยาวของชื่อตัวแปรต้องไม่เกิน 64 ตัว
ชื่อตัวแปรต้องเริ่มต้นด้วยอักษรเท่านั้น ส่วนตัวอื่น ๆ อาจเป็นตัวอักษา ตัวเลข จุด หรือสัญลักณ์พิเศษ เช่น @ ,#,_ (ขีดล่าง) หรือ 5 ก็ได้
ชื่อตัวแปรต้องไม่จบด้วยจุด
ห้ามใช้สัญลักษณ์ต่อไปนี้ คือ !?’*
ชื่อตัวแปรในไฟลืเดียวกันต้องไม่ซ้ำกัน
ตัวอักษรใหญ่หรือเล็ก ถือว่าเป็นตัวเดียวกัน
ห้ามตั้งชื่อ ต่อไปนี้ All NE TO LE LT BY OR GT AND NOT GE WITH
ชนิดของตัวแปรเมื่อคลิกที่ Column Type จะปรากฏชนิดของตัวแปรให้เลือก
5. ชนิดของตัวแปรเมื่อคลิกที่ Column Type จะปรากฏชนิดของตัวแปรให้เลือก
รูปที่ 2.11 การกำหนด Column Type
Numeric เป็นตัวแปรชนิดตัวเลข รวมทั้งเครื่องหมายบวกหรือลบที่อยู่หน้าตัวเลข และรวมถึงจุดทศนิยม ถ้าเลือก Numeric จะต้องกำหนดความกว้าง (Width) และจำนวนหลักของตัวเลขหลักทศนิยม (Decimal Place)
Comma ตัวแปรชนิด Comma รวมถึงตัวเลข เครื่องหมาย Comma คั่นหลักพัน
Dot ตัวแปรชนิด Dot รวมถึงตัวเลข เครื่องหมายบวกหรือลบที่อยู่หน้าตัวเลขและมีเครื่องหมาย Comma จำนวน 1 ตัว สำหรับแสดงจุดทศนิยม และใช้เครื่องหมายจุดสำหรับคั่นเลขหลักพัน กรณีที่ป้อนข้อมูลโดยไม่ใส่จุด เครื่องจะใส่ให้โดยอัตโนมัติ
Scientific Notation เป็นตัวแปรที่มีค่าเป็นตัวเลขและสัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ เช่น E,D รวมถึงเครื่องหมายบวก และเครืองหมายลบเช่น 123ม 123E5 123E-6 123E+2
Dallarเป็นตัวแปรชนิดตัวเลขและหมายถึงจำนวนเงินที่วมถึงเครื่องหมาย $ ให้อัตโนมัติ
Custom ส่วนของ Custom Currency แบ่งออกเป็น 5 รูปแบบคือ CCA CCB CCC CCD CCE
Strong เป็นตัวแปรที่มีค่าเป็นตัวตัวอักษร หรือเครื่องหมายต่างๆ กรณีที่เลือกประเภทString จะต้องกำหนดความกว้างด้วย
6. Width (การกำหนดขนาดของตัวแปร) เป็นการก-หนดความกว้างหรือจำนวนหลักค่าในตัวแปร เมื่อคลิดที่ Cell ใน Column ของ Type เป็น String จะไม่สามาถำกำหนดความกว้างของตัวแปร
7. Decimals เป็นการกำหนดจำนวนหลักหลังจุดทศนิยมของค่าในตัวแปร เมื่อคลิดที่ CellในColumn ของDecimals จะสามารถเปลี่ยนจำนวนหลักหลักงจุดทศนิยมแต่กำหนดประเภทของตัวแปรใน Column ของ Type เป็น String จะไม่สามารถกำหนดค่า Decimals ได้
8. การกำหนด Label (ความหมายของตัวแปร) Label เป็น Column ที่ใช้ระบุความหมายของตัวแปรเนื่องจากชื่อตัวแปรบางครั้งอาจใช้ชื่อย่อ จึงควรระบุความหมายที่แท้จริงของตัวแปรไว้ และนำไปใช้แสดงในผลลัพธ์
9. การกำหนด Value เป็นส่วนที่ใช้ระบุค่าและความหมายของตัวแปรในกรณีที่ ตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น Nominal หรือ Ordinal
รูปที่ 2.12 การกำหนด Value
10. การกำหนดค่าสูญหาย (Missing Value) เนื่องจากในการเก็บรวบรวมข้อมูลจะมีข้อมูลบางส่วนสูญหายไปหรือผู้ที่ป้อนข้อมูลทำการป้อนข้อมูลไม่ครบ เมื่อคลิกที่ Cell ใน Column ของ Missing จะได้หน้าจอดังนี้
No missing กรณีที่ไม่มีการพิมพ์ข้อมูล ในโปรแกรม SPSS จะให้
Values เป็นจุด (.) ซึ่งหมายถึง System – missing value
Discrete missing values ผู้ใช้เป็นผู้กำหนดรหัสของ missing gv’
Range plus one กรณีที่มีการกำหนดให้ผู้ตอบคำถามไม่ต้องตอบ
Optimal discrete คำถามบางข้อ ให้กำหนดรหัสของคำถามที่ไม่
Missing value ตอบนั้นไว้อีกรหัสหนึ่ง
รูปที่ 2.13การกำหนดค่าสูญหาย (Missing Value) โดยกำหนด No missing values
1.1 การกำหนดความกว้างของ Column โปรแกรม SPSS จะกำหนดความกว้างของ Column เป็น 8 ซึ่งผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแปลงความกว้างของ Column น้อยกว่าของตัวแปร บนหน้าจอจะแสดงบนหน้าจอเท่านั้น กรณีที่กำหนดความกว้างของ Clung น้อยกว่าความกว้างของตัวแปร บนหน้าจอจะแสดงค่าของข้อมูลไม่ครบ แต่ไม่มีผลกระทบต่อข้อมูลที่เก็บอยู่ในเครื่อง
1.2 การกำหนดตำแหน่งของข้อมูล (Align) เป็นการกำหนดตำแหน่งการวางข้อมูลใน Cell ซึ่งจะมีผลเฉพาะบนหน้าจอเท่านั้น โดยคลิกที่ Align จะปรากฏทางบเลือก 3 ทาง คือ
Left ให้ข้อมูลชิดซ้ายของ Cell
Right ให้ข้อมูลชิดขวาของ Cell
Center ให้ข้อมูลอยู่ตรงกลางของ Cell
รูปที่ 2.14 การกำหนดตำแหน่งของข้อมูล (Align)
13. การกำหนดสเกลของข้อมูล (Measure) ทำได้โดยคลิกที่ Measure จะปรกฏทางเลือก 3 ทางคือ
Scale หมายถึงข้อมูล Interval หรือ Ratio
Ordinal หมายถึงข้อมูล Ordinal
Nominal หมายถึงข้อมูล Nominal
รูปที่ 2.15 การกำหนดสเกลของข้อมูล (Measure)
เมือสร้างตัวแปรทุกตัวใน Variable View แล้วทำการป้อนข้อมูลจากแบบสอบถามได้โดยการคลิกที่ Data View Tab จะพบว่าชื่อตัวแปรอยู่ในแต่ละ Column ซึ่งหน้าจอของ Data View ประกอบด้วย
1. Row หรือบรรทัด โดยที่ 1 บรรทัด หมายถึงแบบสอบถาม 1 ชุด ที่ได้จากการสอบถาม ตัวอย่าง1 ตัวอย่าง ถ้ามีแบบสอบถาม 100 ชุด หน้าจอนี้จะต้องมี 100 บรรทัด
2. คอลัมน์ (Column) หมายถึงตัวแปร โดยที่ 1 คอลัมน์ คือ 1 ตัวแปร ซึ่งจะมีชื่อตัวแปรอยู่เพียงค่าเดียวเท่านั้น
3. เซล (Cell) เป็นส่วนที่ตัดกันของ Row และ Column แต่ละ Cell จะมีค่าของตัวแปรเพียงค่าเดียวเท่านั้น
4. ไฟล์ข้อมูล หมายถึงขนาดของข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ ทั้งหมด เช่นถ้ามีจำนวนแบบสอบถาม 100 ชุดและมีตัวแปร 10 ตัวแปรดังนั้นขนาดของไฟล์ข้อมูลคือ 100x10
การกำหนดชื่อและลักษณะของตัวแปร
1. จากหน้าจอ Data Editor ให้คลิกเลือก Variable View เพื่อทำการกำหนดชื่อตัวแปรและลักษณะของตัวแปร
ตัวแปรที่ 1
พิมพ์ชื่อตัวแปร เพศ ใน Cell ของ Column name
ที่ Type,Width,Decimalsกำหนดเป็น Numeric,Width = 8, Decimal = 2
ที่ Lableพิมพ์คำว่า เพศ
ที่ Value ให้ใส่ข้อความ “1” = ชาย “2” = หญิง
ที่ Missing ให้ใส่ Descrete missing Values = None
ที่ Column กำหนดความกว้าง = 3
ที่ Align เลือก Center
ที่ Measure เลือก Nominal
ตัวแปรที่ 2
พิมพ์ชื่อตัวแปร อายุใน Cell ของ Column name
ที่ Type, Width, Decimalsกำหนดเป็น Numeric, Width= 8, Decimal = 2
ที่ Label พิมพ์คำว่า อายุ
ที่ Value ไม่ต้องใส่คำใดๆ
ที่ Missing ให้ใส่ Discrete missing Values = None
ที่ Column กำหนดความกว้าง = 3
ที่ Align เลือก Center
ที่ Measure เลือก Scale
รูปที่ 2.16 การกำหนดชื่อและลักษณะของตัวแปร
2. ตัวแปรอื่นๆ ให้ทำในลักษณะคล้ายกับตัวแปร เพศการป้อนข้อมูลตามตัวแปรที่กำหนดไว้
เมื่อสร้างตัวแปรใน Variable View ให้คลิกที่ Data View Tab เพื่อทำการป้อนข้อมูล
รูปที่ 2.17 การป้อนข้อมูลตามตัวแปรที่กำหนดไว้
• การบันทึกไฟล์ข้อมูล ใช้คำสั่ง File -->Save as
รูปที่ 2.18 การบันทึกไฟล์ข้อมูล
• การเปิดไฟล์ข้อมูล ใช้คำสั่ง File -->Open-->Data
รูปที่ 2.19 การเปิดไฟล์ข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น