คำสั่งในโปรแกรม SPSS ที่กี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ทางสถิติทางพรรณนามีอยู่หลายคำสั่งเช่น คำสั่ง Frequencies คำสั่ง Descriptive คำสั่ง Explore คำสั่ง Crosstabs เป็นต้น
2.2.4.1 คำสั่ง Frequencies
คำสั่ง Frequencies เป็นคำสั่งที่ให้ค่าจำนวนและร้อยละของข้อมูลหนึ่งกลุ่มหรือเป็นคำสั่งที่ใช้สร้างตารางแจกแจงความถี่ทางเดียวของตัวแปรที่สนใจโดยคำสั่งนี้ใช้ได้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพซึ่งขั้นตอนการเรียกใช้คำสั่ง Frequencies สามารถทำได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 เลือกเมนูและคำสั่งตามลำดับดังนี้
รูปที่ 2.20 การเรียกใช้คำสั่ง Frequencies
จะปรากฏวินโดวส์ของ Frequencies
รูปที่ 2.21 คำสั่งFrequencies
ขั้นที่ 2 เลือกตัวแปรที่ต้องการศึกษาไปไว้ในบ็อกซ์ของ Variable (S) ในที่นี้เลือกตัวแปร SEX
รูปที่ 2.22 เลือกตัวแปรที่ต้องการศึกษาไว้ในบ็อกซ์ของ Varible(s)
ขั้นที่ 3 กำหนดการแสดงผลลัพธ์โดยคลิกปุ่ม Statistics สำหรับแสดงค่าสถิติ
รูปที่ 2.23 กำหนดการแสดงผลลัพธ์โดยคลิกปุ่ม Statistics จะปรากฏค่าสถิติดังนี้
Percentile Values กลุ่มของค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ประกอบด้วยค่าควอร์ไทล์และค่า
เปอร์เซ็นต์ไทล์
Dispersion การหารค่าการกระจายของข้อมูลประกอบด้วยส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานความแปรปรวน ค่าพิสัย ค่าต่ำสุดค่าสูงค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน
Central Tendency การวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลางประกอบด้วย ค่ามัชณิมา เลขคณิต
ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ค่าผลรวม
Distribution การแจกแจงข้อมูล
เลือกค่าสถิติที่ต้องการแล้วคลิก Continue
รูปที่ 2.24 เมื่อเลือกค่าที่ต้องการแล้วคลิก Continue
ขั้นที่ 4 คลิกที่ปุ่ม OK จะปรากฏผลลัพธ์ในวินโดวส์ Output
รูปที่ 2.25 ผลลัพธ์ Frequencies ในวินโดวส์ Output
2.2.4.2 คำสั่ง Crosstabs
คำสั่ง Crosstabs เป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการสร้างตารางแจกแจงแบบหลายทางและสามารถแสดงค่าความถี่ ร้อยละ การคำนวณค่าสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานได้อีกด้วย คำสั่ง Crosstab นี้เหมาะสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการจำแนกข้อมูลตามลักษณะของข้อมูลตั้งแต่ 2 ลักษณะ มา แจกแจงพร้อม ๆ กันเรียกว่า “การแจกแจงความถี่ร่วม” (Crosstabs) สามารถทำได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 ตารางแจกแจงความถี่ จำแนกตามเพศ และระดับการศึกษา
ขั้นที่ 1 เลือกเมนู และคำสั่งตามลำดับ ดังนี้
รูปที่ 2.26 การเรียกใช้คำสั่ง Crosstabs
จะปรากฏวินโดวส์ของ Crosstabs ดังนี้
รูปที่ 2.2.7 คำสั่ง Crosstabs
ขั้นที่ 2 เลือกตัวแปรเชิงคุณภาพ ตัวที่ 1 (เพศ) ไปไว้ในบ็อกซ์ของ Row (S)
เลือกตัวแปรเชิงคุณภาพ ตัวที่ 2 (สถานภาพ) ไปไว้ในบ็อกซ์ของ Column (S)
รูปที่ 2.28 เลือกแปรเชิงคุณภาพไปไว้ในบ็อกซ์ของ Row (S) และ Column (S)
ขั้นที่ 3 ถ้าต้องการหาค่าร้อยละแบบต่าง ๆ ให้คลิกที่ปุ่ม Cells จะปรากฏวินโดวส์ของ Crosstabs: Cell Display ให้เลือกค่าที่ต้องการเพิ่มเติม
ขั้นที่ 4 สมมติว่าต้องการร้อยละทุกค่า ให้เลือกบ็อกซ์ของ Row, Column, Total ในส่วนของ Percentages และคลิกปุ่ม Continue
รูปที่ 2.29 ต้องการหาค่าร้อยละทุกค่า ให้เลือกบ็อกซ์ของ Row, Column, Total ในส่วนของ
Percentages และคลิกที่ปุ่ม Continue
ขั้นที่ 5 คลิกที่ปุ่ม OK จะปรากฏผลลัพธ์ในวินโดวส์ Output
รูปที่ 2.30 ผลลัพธ์ Crosstabs ในวินโดวส์ Output
2.2.4.3 คำสั่ง Descriptive
คำสั่ง Descriptive เป็นคำสั่งที่ในการหาค่าสถิติเบื้องต้น ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นตารางค่าสถิติต่าง ๆ คำสั่งนี้ใช้ได้ข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น การหาค่ามัชฌิมาเลขคณิต การหาค่าผลรวมการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าต่ำสุด การหาค่าสูงสุด ซึ่งขั้นตอนการเรียกใช้คำสั่ง Crosstabs สามารถทำได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 เลือกเมนู และคำสั่งตามลำดับ ดังนี้
รูปที่ 2.31 การเรียกใช้คำสั่ง Descriptive
จะปรากฏวินโดวส์ของ Descriptive ดังนี้
รูปที่ 2.32 คำสั่ง Descriptive
ขั้นที่ 2 เลือกตัวแปรที่ต้องการศึกษาไปไว้ในบ็อกซ์ของ Variable (S) ในที่นี้เลือกตัว แปร INCOM
รูปที่ 2.33 เลือกตัวแปรทีต้องการศึกษาไปไว้ในบ็อกซ์ของ Variable (S)
ขั้นที่ 3 คลิกที่ปุ่ม OK จะปรากฏผลลัพธ์ในวินโดวส์ Output
รูปที่ 2.34 ผลลัพธ์ Descriptive ในวินโดวส์ Output
2.2.4.4 คำสั่ง Explore
คำสั่ง Explore เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างสรุปค่าสถิติเบื้องต้น แยกตัวแปรที่สนใจโดยมากใช้กับข้อมูลเชิงปริมาณที่ต้องการจำแนกตามข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่น สรุปค่าสถิติแยกตามเพศซึ่งขั้นตอนการเรียกใช้คำสั่ง Explore สามารถทำได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 เลือกเมนู และคำสั่งตามลำดับ ดังนี้
รูปที่ 2.35 การเรียกใช้คำสั่ง Explore
จะปรากฏวินโดวส์ของ Descriptive ดังนี้
รูปที่ 2.36 คำสั่ง Explore
ขั้นที่ 2 เลือกตัวแปรที่ต้องการศึกษา โดยที่
เลือกตัวแปรเชิงปริมาณที่ต้องการหาค่าสถิติไว้ที่ช่อง Dependent List
เลือกตัวแปรเชิงคุณภาพที่ต้องการแบ่งกลุ่มไว้ที่ช่อง Factor List
รูปที่ 2.37 เลือกตัวแปรที่ต้องการศึกษาไว้ที่ช่อง Dependent List และช่อง Factor List
ขั้นที่ 3 คลิกที่ปุ่ม OK จะปรากฏผลลัพธ์ในวินโดวส์ Output
รูปที่ 2.38 ผลลัพธ์ Explore ในวินโดวส์ Output
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น