การนำเสนอข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS สามารถทำได้ทั้งในรูปแบบกราฟหรือแผนภูมิแบบต่าง ๆ ซึ่งโปรแกรม SPSS จัดเตรียมไว้ให้มากมาย เช่น การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง แผนภูมิวงกลม เป็นต้น
2.2.5.1 คำสั่ง Bar Charts
ข้อมูลที่สามารถนำเสนอในรูปของแผนภูมิแท่งเป็นได้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพซึ่งในการใช้คำสั่ง Bar Charts สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1 ใช้คำสั่ง Frequencies มีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. เลือกเมนู Analyze → Descriptive Statics → Frequencies
2. เลือกตัวแปรที่ต้องการสร้างแผนภูมิ
3. คลิกปุ่ม Charts เลือก Bar Charts และคลิกปุ่ม Continue
4. ที่ข้อความ Display frequency tables ให้ลบเครื่องหมายถูกออก และคลิกปุ่ม OK
รูปที่ 2.39 การเรียกใช้คำสั่ง Bar Charts
รูปที่ 2.40 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง Bar Charts
วิธีที่ 2 ใช้คำสั่ง Graphs มีขั้นตอนการทำงานดั้งนี้
1. เลือกเมนู Graphs → Bar…
2.ที่หน้าต่าง Bar Charts เลือกประเภทของแผนภูมิแท่งและคลิกปุ่ม Define
3. ที่หน้าต่าง Define Simple Bar : ให้นำตัวแปรที่ต้องการสร้างแผนภูมิไว้ที่ Category Axis
4. กำหนดลักษณะของข้อมูลที่จะนำเสนอที่ Bars Represent
5.คลิกปุ่ม OK
รูปที่ 2.41 ใช้คำสั่ง Graphs เลือกเมนู Graphs → Bar…
รูปที่ 2.42 การกำหนด Define Simple Bar ให้นำตัวแปรที่ต้องการสร้างแผนภูมิไว้ที่ Category Axis
รูปที่ 2.43 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง Graphs
2.2.5.2 คำสั่ง Pie Charts
ข้อมูลที่สามารถนำเสนอในรูปแบบของแผนภูมิวงกลมส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพซึ่งในการใช้
คำสั่ง Pie Charts สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1 ใช้คำสั่ง Frequencies มีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. เลือกเมนู Analyze → Descriptive Statistics → Frequencies
2. เลือกตัวแปรที่ต้องการสร้างแผนภูมิ
3. คลิกปุ่ม Charts เลือก Pie Charts และคลิกปุ่ม Continue
4. ที่ข้อความ Display frequency tables ให้ลบเครื่องหมายถูกออก และคลิกปุ่ม OK
รูปที่ 2.44 การเรียกใช้คำสั่ง Pie Charts
รูปที่ 2.45 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง Pie Charts
วิธีที่ 2 ใช้คำสั่ง Graphs มีขั้นตอนกาทำงานดั้งนี้
1. เลือกเมนู Graphs → Pie…
2. ที่หน้าต่าง Pie Charts เลือกประเภทของแผนภูมิแท่ง และคลิกปุ่ม Define
3. ที่หน้าต่าง Define Pie: ให้นำตัวแปรที่ต้องการสร้างแผนภูมิไว้ที่ Define Slice by
4. กำหนดลักษณะของข้อมูลที่จะนำเสนอที่ Slice Represent
5. คลิกที่ปุ่ม OK
รูปที่ 2.46 การเรียกใช้คำสั่ง Pie Charts เลือกเมนู Graphs → Pie…
รูปที่ 2.47 ที่หน้าต่าง Define Pie ให้นำตัวแปรที่ต้องการสร้างแผนภูมิไว้ที่ Define Slice by
รูป 2.48 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง Pie Charts
2.2.5.3 คำสั่ง Line Charts
ข้อมูลที่สามารถนำเสนอในรูปของกราฟเส้นเป็นได้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลคุณภาพและแผนภูมินี้เหมาะกับข้อมูลที่มีจำนวนกลุ่มมากกว่า 2 กลุ่ม ส่วนใหญ่นิยมสร้างแผนภูมินี้เพื่อดูแนวโน้มของข้อมูล ซึ่งในการใช้คำสั่ง Line Charts สามารถทำได้ดังนี้
1. เลือกเมนู Graphs → Line
2. ที่หน้าต่าง Line Charts เลือกประเภทของแผนภูมิแท่งและคลิกปุ่ม Define
3. ที่หน้าต่าง Define Simple Line: ให้นำตัวแปรที่ต้องการสร้างแผนภูมิไว้ที่ Category Axis
4. กำหนดลักษณะของข้อมูลที่จะนำเสนอที่ Line Represent
5. คลิกที่ปุ่ม OK
รูปที่ 2.49 การเรียกใช้คำสั่ง Line Charts
รูปที่ 2.50 ที่หน้าต่าง Define Simple Line ให้นำตัวแปรที่ต้องการสร้างแผนภูมิไว้ที่ Category Axis
รูปที่ 2.51 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง Line Charts
2.2.5.4 คำสั่ง Histogram
ข้อมูลที่สามารถนำเสนอในรูปของแผนภูมิฮีสโตแกรมเป็นข้อมูลเชิงปริมาณและเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปความถี่หรือจำนวนนับซึ่งในการใช้คำสั่ง Histogram สามารถทำได้ดังนี้
วิธีที่ 1 เลือกเมนู Frequencies มีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. เลือกเมนู Analyze → Descriptive Statistics → Frequencies
2. เลือกตัวแปรที่ต้องการสร้างแผนภูมิ
3. คลิกปุ่ม Chart เลือก Histogram
4. ถ้าต้องการแสดงเส้นโค้งปกติให้คลิกที่หน้า With normal curve ให้มีเครื่องหมายถูกและคลิกปุ่ม Continue
5. ที่ข้อความ Display Frequency tables ให้ลบเครื่องหมายถูกออกและ คลิกปุ่ม OK
รูปที่ 2.52 การเรียกใช้คำสั่ง Histogram
รูปที่ 2.53 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง Histogram
วิธีที่ 2 ใช้คำสั่ง Graphs มีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. เลือกเมนูคำสั่ง Graphs → Histogram
2. ที่หน้าต่าง Histogram เลือกตัวแปรที่จะนำมาสร้างแผนภูมิไว้ที่ Variable
3. ถ้าต้องการแสดงเส้นโค้งปกติ ให้คลิกที่หน้า Display normal curve ให้มีเครื่องหมายถูก
4. คลิกที่ปุ่ม OK
รูปที่ 2.54 การใช้คำสั่ง Graphs เลือกเมนู Graphs → Histogram…
รูปที่ 2.55 ผลลัพธ์การใช้คำสั่ง Graphs เลือกเมนู Graphs → Histogram
2.2.5.5 การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบรายงาน
การนำเสนอข้อมูลในแบบรายงานด้วยโปรแกรม SPSS มีขั้นตอนดังนี้
2.2.5.5.1 เลือกเมนู Analyze → Reports
2.2.5.2 เลือกลักษณะรายงานที่ต้องการ
รูปที่ 2.56 การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบรายงานเลือกเมนู Analyze → Reports และเลือกลักษณะ รายงานที่ต้องการ
OLAP Cubes (Online Analytical Processing) เป็นคำสั่งในการหาผลรวม คำเฉลี่ยและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสรุปค่าของตัวแปรที่สนใจซึ่งนิยมใช้กับข้อมูลเชิงปริมาณที่จำแนกข้อมูลตามกลุ่มที่สนใจมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. เปิดไฟล์ข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์
2. เลือกคำสั่ง Analyze → Reports → OLAP Cubes…
3. เลือกตัวแปรที่ต้องการหาค่าสรุปต่าง ๆ ไว้ที่ช่อง Summary Variable (S) และเลือกตัวแปรสำหรับแบ่งกลุ่มไว้ที่ช่อง Grouping Variable (S)
4. กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ
• ปุ่ม Statistics สำหรับเลือกค่าสถิติเชิงพรรณนาที่ต้อองการแสดงค่า
• ปุ่ม Differences สำหรับแสดงค่าสถิติที่แยกตามกลุ่มหรือตามตัวแปร
• ปุ่ม Title สำหรับกำหนดหัวเรื่อง
5. คลิกปุ่ม OK
Case Summaries เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างรายงานสรุปสิ่งที่ต้องการศึกษาหรือตัวแปรที่สนใจ โดยจะต้องเป็นตัวแปรเชิงปริมาณและกำหนดการจำแนกตามกลุ่ม ซึ่งต้องกำหนดด้วยตัวแปรเชิงคุณภาพมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. เลือกคำสั่ง Analyze → Reports → Case Summaries in columns…
2. นำตัวแปรที่สนใจจะสร้างรายงานสรุปไปไว้ที่ Variables
3. นำตัวแปรที่ต้องการจำแนกไปไว้ที่ Grouping Variable (S)
4. ที่ Display cases กำหนดจำนวน cases ที่ต้องการแสดง
5. กำหนดรายละเอียดอื่น ๆ
• ที่ปุ่ม Statistics กำหนดการแสดงค่าสถิติต่าง ๆ
• ที่ปุ่ม Options กำหนดหัวเรื่องรายงาน
6. คลิกปุ่ม OK
Case Summaries in Rows เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างรายงานสรุปในรูปของการสรุปในแนวแถวมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. เลือกคำสั่ง Analyze → Reports → Case Summaries in Rows…
2. ที่ Data Columns
• นำตัวแปรที่สนใจจะสร้างรายงานสรุปไว้ในช่องสี่เหลี่ยม
• ปุ่ม Format กำหนดชื่อหัวคอลัมน์และการจัดวาง
3. ที่ Break Columns
• นำตัวแปรที่ต้องการจำแนกไว้ในช่องสี่เหลี่ยม
• ปุ่ม Summary กำหนดการแสดงค่าสถิติต่าง ๆ
• ปุ่ม Options กำหนดรูปแสดงข้อมูล
• ปุ่ม Format กำหนดชื่อหัวคอลัมน์และการจัดการ
• ปุ่ม Sort Sequence กำหนดการเรียงลำดับ Ascending เรียงจากน้อยไปหามาก
Descending เรียงจากมากไปหาน้อย
• ปุ่ม Data are already sorted กำหนดว่าตัวแปรมีการจัดเรียงแล้ว
4. ที่ Report
• ปุ่ม Summary กำหนดการแสดงค่าสถิติต่าง ๆ
• ปุ่ม Options กำหนดเกี่ยวกับค่าสูญหาย
• ปุ่ม Layout กำหนดหน้ากระดาษ เช่น Page Layout
• ปุ่ม Titles กำหนดชื่อหัวรายงาน
5. ที่ปุ่ม Display cases กำหนดการแสดงค่าตัวแปร
6. คลิกที่ปุ่ม OK
Case Summaries in Columns เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างรายงานสรุปในรูปของการสรุปในแนวคอลัมน์ มีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. เลือกคำสั่ง Analyze → Reports – Case summaries in Columns…
2. ที่ Data Columns
• นำตัวแปรที่สนใจจะสร้างรายงานสรุปไว้ในช่องสี่เหลี่ยม
• ปุ่ม Summary กำหนดค่าสถิติ
• ปุ่ม Insert Total แทรกการหาค่าผลรวม
• ปุ่ม Format กำหนดชื่อหัวคอลัมน์และการจัดวาง
3. ที่ Break Columns
• นำตัวแปรที่ต้องการจำแนกไว้ในช่องสี่เหลี่ยม
• ปุ่ม Options กำหนดการคำนวณค่าผลรวมของตัวแปรที่เลือก
• ปุ่ม Format กำหนดชื่อหัวคอลัมน์และการจัดการ
• ปุ่ม Sort Sequence กำหนดการเรียงลำดับ Ascending เรียงจากน้อยไปหามาก
Descending เรียงจากมากไปหาน้อย
• ปุ่ม Data are already sorted กำหนดว่าตัวแปรมีการจัดเรียงแล้ว
4. ที่ Report
• ปุ่ม Options กำหนดเกี่ยวกับค่าสูญหาย
• ปุ่ม Layout กำหนดหน้ากระดาษ เช่น Page Layout
• ปุ่ม Titles กำหนดชื่อหัวรายงาน
5. ที่ปุ่ม Display cases กำหนดการแสดงค่าตัวแปร
6. คลิกที่ปุ่ม OK
2.2.5.6 การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง
การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง ทำได้โดยใช้คำสั่ง Custom Tables มีขั้นตอนการ
ทำงานดังนี้
1. เลือกคำสั่ง Analyze → Tables → Custom Tables...
รูปที่ 2.57 การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตางราง
2. จะได้หน้าจอเพื่อสร้างตาราง ซึ่งประกอบด้วยคำสั่งต่าง ๆ 4 ส่วน คือ
- Table เป็นส่วนของการออกแบบตาราง โดยการกำหนดตัวแปรที่จะปรากฏใน แถวและคอลัมน์
- Titles เป็นส่วนกำหนดข้อความให้ปรากฏในตาราง
- Test Statistics เป็นส่วนกำหนดสถิติทดสอบ
- Options เป็นส่วนกำหนดรูปแบบการนำเสนอ
รูปที่ 2.58 Table เป็นส่วนของการออกแบบตาราง โดยกำหนดตัวแปรที่จะปรากฏในแถวและ
คอลัมน์
รูปที่ 2.59 Titles เป็นส่วนกำหนดข้อความให้ปรากฏในตาราง
รูปที่ 2.60 Test Statistics เป็นส่วนกำหนดสถิติทดสอบ
รูปที่ 2.61 Options เป็นส่วนกำหนดรูปแบบการนำเสนอ